ความฝันของคนที่กำลังผ่อนบ้าน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งซื้อบ้านหลังแรก คือผ่อนบ้านให้หมดเร็วที่สุด คงไม่มีใครอยากฝันร้าย ผ่อนบ้านไม่ไหว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ฝันร้ายกลายเป็นจริง ลองมาดูกันว่า เรามีวิธีรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง ?
1. เปิดทางเลือก เมื่อมาถึงจุดที่ ผ่อนบ้านไม่ไหว
1.1 จัดระเบียบรายรับ – รายจ่าย
อย่างแรกคือหยุดสร้างหนี้ใหม่ หยุดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทั้งหมด แล้วรวบรวมเงินสำรอง ลองขายทรัพย์สินอื่น และรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต
1.2 หาทางสร้างรายรับเพิ่ม
หลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์ผ่อนบ้านไม่ไหวมา เล่าว่า ถ้าบ้านที่อยู่เป็นทำเลทอง ให้ลองทำของขาย หรือหางานเสริมทำก็ได้
1.3 ประกาศขายบ้านด่วน
สำหรับคนที่ยังมีที่อยู่อาศัย แนะนำให้ขายบ้านเลย ยิ่งถ้าผู้ซื้อสนใจซื้อบ้านเงินสด ควรรีบคว้าโอกาสทันที
1.4 ขอประนอมหนี้กับธนาคาร
ก่อนจะผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคาร ให้รีบปรึกษาธนาคารเพื่อหาทางลดหย่อน หรือผ่อนผันหนี้ ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย
2. 9 วิธี เจรจาประนอมหนี้กับธนาคาร
2.1 ขยายเวลาผ่อนบ้าน
ผ่อนบ้านไม่ไหว คืนได้ไหม ? ลองเจรจาขอยืดเวลาผ่อนชำระกับธนาคารดูก่อน สมมติเหลือเวลาผ่อนอีก 10 ปี ก็ขอยืดเป็น 15 ปี วิธีนี้จะช่วยลดยอดผ่อนชำระต่อเดือนได้ ระหว่างนั้นก็ลองหาทางสร้างรายได้เพิ่มดู เช่น ปล่อยเช่าบ้านแบบรายเดือน
2.2 จัดการรีไฟแนนซ์บ้าน
ขอบคุณรูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อส่งค่าบ้านมานานเกิน 3 ปี แล้วผ่อนบ้านไม่ไหว สามารถยื่นรีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance) กับธนาคาร เพื่อเปลี่ยนไปทำสัญญากับธนาคารใหม่ ที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่าได้ ซึ่งจะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนลดลง
2.3 ขอลดอัตราดอกเบี้ยบ้าน
ผู้กู้จะขอลดดอกเบี้ย (Retention) ได้เมื่อผ่อนชำระมาเกิน 3 ปี ทำให้เงินผ่อนไปอยู่ที่เงินต้นมากขึ้น แนะนำให้เตรียมวิธีนี้ไว้ตั้งแต่วางแผนซื้อบ้านเลย จะได้ไม่ต้องเจอกับประสบการณ์ผ่อนบ้านไม่ไหว
2.4 ขอชำระค่างวดต่ำกว่าปกติ
อธิบายกับธนาคารว่า ทำไมถึงไม่สามารถผ่อนชำระตามยอดที่ตกลงไว้ได้ เพื่อจะขอจ่ายหนี้แต่ละเดือนให้น้อยกว่าปกติ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นการซื้อบ้านหลังแรก ธนาคารมักจะยินยอม แต่จะผ่อนปรนให้ไม่เกิน 2 ปี
2.5 ขอผ่อนชำระแบบขั้นบันได
อย่าเพิ่งคิดว่า ผ่อนบ้านไม่ไหว คืนได้ไหม ? ลองยื่นขอผ่อนค่างวดแบบขั้นบันไดดูก่อน จะช่วยให้คุณมีเวลาบริหารเงินเพิ่มขึ้นได้ เช่น ยอดเต็ม 10,000 บาท ปีแรกธนาคารลดให้ 20% เหลือยอด 8,000 บาท ส่วนปีที่ 2 ลด 10% ก็ผ่อน 9,000 บาท เป็นต้น
2.6 ขอจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย
เมื่อขอสินเชื่อบ้านแล้วผ่อนบ้านไม่ไหว สามารถพักชำระเงินต้น แล้วจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือนก่อนได้ เช่น ปกติผ่อนเดือนละ 10,000 บาท (เงินต้น 4,000 ดอกเบี้ย 6,000) ก็จะเหลือยอดแค่ 6,000 บาทเท่านั้น
2.7 ขอรวมหนี้รายย่อย
ขอบคุณรูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ยื่นขอรวมสินเชื่อบ้านกับหนี้อื่น ๆ เช่น หนี้บัตรเครดิต, หนี้บัตรกดเงินสด, สินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อลดดอกเบี้ยให้เป็นเรตเดียวกัน ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง โดยสามารถรวมได้ทั้งหนี้ธนาคารเดียวกัน และต่างธนาคาร
2.8 ขอพักหนี้
สำหรับคนที่กำลังเจอกับประสบการณ์ผ่อนบ้านไม่ไหว แบบเข้าขั้นวิกฤติ สามารถยื่นขอพักหนี้ได้นานสุด 36 เดือน ระหว่างนี้จะไม่ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเลย จากนั้นค่อยชำระหนี้ตามรูปแบบที่ตกลงไว้ เช่น ผ่อนหนี้ค้างเป็นงวด ๆ หรือจ่ายหนี้ค้างทีเดียวทั้งก้อน
2.9 ขอโอนบ้านเพื่อชำระหนี้
เมื่อมาถึงจุดที่ผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคาร ก็สามารถใช้กลยุทธ์ขายบ้าน หรือโอนบ้านให้ธนาคารเป็นการชั่วคราว แล้วก็เช่าบ้านตัวเองอยู่ก่อน เมื่อสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น ค่อยตีโอนบ้านคืนมา
3. 3 ตัวช่วยจากแบงก์ชาติ แก้ปัญหาหนี้เสีย จากการผ่อนชำระไม่ไหว
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นผลดีกับผู้กู้บ้านมากเลยทีเดียว
3.1 คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ผิดนัดจริง
ขอบคุณรูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
คำถามที่ว่า ผ่อนบ้านไม่ไหว คืนได้ไหม ? เริ่มมีแนวโน้มที่จะลดลง เมื่อมาตรการนี้ออกมา เพราะจากที่ต้องเสียดอกเบี้ยผิดนัดชำระ จากยอดเงินที่เหลือทั้งหมด ก็จะเสียแค่ยอดเงิน จากงวดที่ผิดนัดจริง ๆ เท่านั้น
3.2 คิดดอกเบี้ยผิดนัดไม่เกิน 3%
ก่อนหน้านี้ธนาคารสามารถคิดดอกเบี้ย ที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ได้สูงสุด 15% แต่เกณฑ์ใหม่นี้ กำหนดให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ไม่เกิน 3% ของดอกเบี้ยในสัญญา เช่น ดอกเบี้ยบ้าน 7% ก็บวกเพิ่มได้สูงสุดเป็น 10%
3.3 ปรับลำดับการตัดยอดหนี้
ขอบคุณรูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย
ไม่จำเป็นต้องผ่อนบ้านไม่ไหว ขายคืนธนาคารอีกต่อไป เพราะจากนี้เงินผ่อนรายเดือน จะถูกตัดไปโปะให้กับหนี้งวดที่นานที่สุดก่อน (รวมทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) แทนที่จะนำเงินไปจ่ายแค่ดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ทุกงวด เหมือนที่ผ่านมา
4. สรุป
ผ่อนบ้านไม่ไหว อย่าเพิ่งถอดใจ ! ยังมีอีกหลายวิธีให้คุณเลือกใช้ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ได้ หรือถ้าคุณต้องการที่ปรึกษา เพื่อหาทางออก ก็สามารถมาปรึกษากับทีมงานของ GOOROO HOME ได้เลย
บทความแนะนำ
7 ทริคเก็งกำไร ที่นักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ควรพลาด ! ด้วยวิธีง่าย ๆ บทความนี้มีคำตอบ