
แนวโน้มของคนยุคใหม่ มีความสนใจที่จะซื้อคอนโด มากกว่าเลือกซื้อบ้าน เพราะเดินทางสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าบ้าน แต่หลายคนลืมคิดว่า นอกจากค่าคอนโดแล้ว ยังมี ค่าโอนคอนโด และค่าใช้จ่ายวันโอน ที่ต้องนึกถึงด้วย
1. ค่าโอนคอนโด คืออะไร ?
เมื่อเสร็จจากการตรวจรับบ้านและคอนโด ก็จะมาถึงขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์คอนโด ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน (ค่าภาษีโอนคอนโด) เช่นเดียวกับการซื้ออาคารพาณิชย์, บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, บ้านมือสอง, ทาวน์เฮาส์ และทาวน์โฮม ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ มักจะจ่ายที่สำนักงานที่ดิน พร้อมกับตัวแทนของโครงการและธนาคาร ดังนั้นหากใครอยากลงทุนอสังหาฯ ก็อย่าลืมคำนวณค่าใช้จ่ายวันโอนด้วย มิเช่นนั้นอาจขาดทุนได้เลย
2. ค่าธรรมเนียมการโอนคอนโดปี 2566 ต้องจ่ายเท่าไหร่ ?
กฎกระทรวง “ กำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2565 ” ลงวันที่ 26 ธ.ค.2565 ระบุว่า
สำหรับอสังหาริมทรัพย์ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท
- ค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (ค่าโอนคอนโด) = 1%*
- ค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ (ค่าจดจำนอง) = 0.01%*
* คำนวณตามราคาประเมิน หรือราคาซื้อขายจริง โดยเลือกราคาที่สูงกว่า

ชอบคุณรูปภาพจาก https://www.kasikornresearch.com
3. ปี 2566 การโอนคอนโดค่าใช้จ่ายมีอะไรบ้าง ?

3.1 ค่าธรรมเนียมการโอนคอนโด
ค่าโอนสำหรับคอนโดไม่เกิน 3 ล้านบาท เท่ากับ 1% แต่ถ้าเกิน 3 ล้านบาทจะต้องจ่าย 2% ซึ่งถ้าใครกู้ร่วมซื้อคอนโด หรือกู้ซื้อบ้านหลังแรกร่วมกัน ก็จะมีคนช่วยหารค่าธรรมเนียมให้ลดลงไปอีกเท่าตัว
3.2 ค่าประเมินราคา
ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ค่าธรรมเนียมการโอนคอนโด จะคิดตามราคาซื้อขาย หรือราคาประเมิน โดยต้องให้ธนาคารที่ขอสินเชื่อเป็นผู้ประเมิน มีค่าจ้างประเมินประมาณ 3,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ราคาประเมินจะต่ำกว่าราคาซื้อขาย
3.3 ค่าจดจำนอง
กรมที่ดินจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจำนอง ในกรณีที่ผู้ซื้อคอนโดและบ้าน ใช้วิธีกู้ซื้อผ่านธนาคาร ไม่ได้ซื้อคอนโดเงินสด หรือซื้อบ้านเงินสด โดยจะคิด 0.01% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด
3.4 ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ค่าภาษีโอนคอนโดส่วนนี้ เป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย โดยจะต้องชำระภาษีตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร ที่คำนวณตามราคาขาย/ราคาประเมิน, จำนวนปีที่ถือครอง, ระยะเวลาที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน สมมติ ถ้าคุณขายคอนโดอายุ 3 ปี ราคา 2,500,000 บาท จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 23,000 บาท
3.5 ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย ที่ถือครองคอนโดไม่เกิน 5 ปี มีอัตรา 3.3% ของราคาคอนโด และจะได้รับยกเว้นค่าอากรแสตมป์ แต่ถ้าถือไว้เกิน 5 ปี หรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี ให้เสียค่าอากรแสตมป์แทน
3.6 ค่าอากรแสตมป์
การโอนคอนโดค่าใช้จ่าย จะมีค่าอากรแสตมป์รวมอยู่ด้วย ซึ่งถือเป็นภาระของผู้ขาย ที่ไม่ได้จ่ายค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ มีอัตราอยู่ที่ 0.5% หากคอนโดราคา 2,500,000 บาท ก็ต้องชำระ 12,500 บาท
3.7 ค่าประกันภัยคอนโด
ประกันคอนโดมีความคุ้มครองหลายรูปแบบให้เลือก ซึ่งนิติบุคคลคอนโดจะเป็นผู้ดำเนินการให้ ส่วนใหญ่นิยมทำประกันภัยอาคารส่วนกลาง กับประกันภัยสำหรับบุคคลที่ 3
3.8 ค่าประกันอัคคีภัย
ส่วนใหญ่ธนาคารที่ผู้ซื้อขอสินเชื่อ จะกำหนดให้ทำประกันอัคคีภัยร่วมด้วยเสมอ โดยจะคุ้มครองทั้งที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินภายใน แต่บางสถาบัน อาจกำหนดให้ทำเป็นประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) เลย
3.9 ค่าประกันมิเตอร์
นอกจากค่าโอนคอนโดแล้ว ก็จะมีค่าประกันมิเตอร์น้ำและมิเตอร์ไฟ ที่ผู้ซื้อจะต้องจ่ายในวันโอนคอนโดด้วย ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 2,000 – 4,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์เป็นหลัก
3.10 เงินกองทุนคอนโด
การโอนคอนโดค่าใช้จ่ายจะมีในส่วนของเงินกองทุนคอนโดด้วย อ้างตาม พรบ. อาคารชุด พ.ศ.2522 ซึ่งเงินก้อนนี้จะถูกเก็บไว้เป็นทุนสำรอง สำหรับการบริหารจัดการคอนโดระยะยาว อย่างซ่อมลิฟต์ หรือแก้ปัญหาน้ำท่วม อัตราเรียกเก็บจะถูกระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย เช่น 600 บ./ตร.ม. ถ้าคอนโดขนาด 35 ตร.ม. ก็ต้องจ่าย 21,000 บาท
3.11 ค่าส่วนกลางล่วงหน้า
ในวันโอน ผู้ซื้อจะถูกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า 1 – 2 ปี โดยคิดตามขนาดห้อง สมมติห้องขนาด 30 ตร.ม. ค่าส่วนกลาง 60 บ./ตร.ม. ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 21,600 บาท/ปี แต่ถ้าเป็นคอนโดสวย ๆ ห้องกว้าง ๆ อย่างคอนโดชั้นบนสุด ค่าส่วนกลางก็จะแพงกว่าปกติแน่นอน
4. ผู้ซื้อ vs ผู้ขาย ใครรับผิดชอบ ค่าธรรมเนียมโอนคอนโด ?

ถึงตรงนี้หลายคนอาจยังสงสัยว่า ขายคอนโดต้องเสียค่าอะไรบ้าง ? ใกล้เคียงกับ ค่าใช้จ่ายสำหรับขายบ้านไหม ? ขอบอกเลยว่า ค่าภาษีโอนคอนโด กับค่าโอนบ้านมือสองและมือหนึ่งนั้น เหมือนกันเกือบทั้งหมด
- ค่าโอนมักจะหารกันคนละครึ่ง
- ฝั่งผู้ขายจะมีภาษีเงินได้ กับค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ/อากรแสตมป์ เพิ่มเข้าไปด้วย
- ส่วนผู้ซื้อ จะต้องรับผิดชอบค่าประเมินราคา, ค่าจดจำนอง, ค่าประกันภัย, ค่าประกันมิเตอร์, เงินกองทุน และค่าส่วนกลาง
5. สรุป
ค่าโอนคอนโด ไม่ได้หมายถึงแค่ค่าธรรมเนียม 1% เท่านั้น แต่ยังแฝงไว้ด้วยค่าใช้จ่ายวันโอนอีกหลายรายการ ดังนั้นควรสอบถามโครงการให้ครบถ้วน เพื่อจะได้วางแผนการเงินล่วงหน้าได้ แต่หากธุรกรรมเหล่านี้ สร้างความยุ่งยากให้กับคุณ นายหน้าอสังหามืออาชีพอย่าง GOOROO HOME พร้อมให้คำปรึกษา และดูแลทันทีที่ต้องการ
บทความแนะนำ
[Checklist] ตรวจบ้านด้วยตัวเอง ต้องดูอะไรบ้าง ? วิธีง่าย ๆ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ! บทความนี้มีคำตอบ