เปรียบเทียบ ค้ำประกันบ้าน VS กู้บ้านร่วม ตอนซื้อบ้านต่างกันอย่างไร?

เปรียบเทียบ ค้ำประกันบ้าน VS กู้บ้านร่วม ตอนซื้อบ้านต่างกันอย่างไร?

เปรียบเทียบ ค้ำประกันบ้าน VS กู้บ้านร่วม ตอนซื้อบ้านต่างกันอย่างไร?
เปรียบเทียบ ค้ำประกันบ้าน VS กู้บ้านร่วม ตอนซื้อบ้านต่างกันอย่างไร?

1. ค้ำประกันบ้าน VS กู้ร่วมต่างกันอย่างไร Part 1

อยากซื้อบ้านให้ผ่านต้องทำอย่างไร?
อยากซื้อบ้านให้ผ่านต้องทำอย่างไร?

การ ค้ำประกันบ้าน ผู้ค้ำจะเป็นใครก็ได้ เพียงแค่มีความสามารถที่จะค้ำได้ก็สามารถมาเป็นคนค้ำได้เลย ทำให้สามารถหาคนมาค้ำประกันได้ง่ายมาก แต่คนจะมาค้ำประกันต้องดูให้ดีว่าผู้กู้จะสามารถผ่อนได้อย่างแน่นอนด้วย เพราะถ้ากรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถผ่อนได้ คนค้ำประกันจะต้องเป็นคนที่มาจ่ายแทนผู้กู้

แม้ในทางกฎหมายผู้ค้ำ จะเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช่พี่น้อง ไม่ใช่ครอบครัว ไม่ควรจะมาค้ำ เพราะถ้าผู้กู้หนีหายไป ผู้ค้ำประกันจะเดือดร้อนแน่นอน ดังนั้นต้องคิดดีๆ ในการที่จะค้ำประกันบ้านให้กับใครก็ตาม เพราะมันก็ล้วนจะมีความเสี่ยงทั้งสิ้น แม้แต่ญาติยังเสี่ยงเลย

ส่วนเรื่องของตัวผู้กู้บ้านร่วมจะต้องเป็นญาติกันกับผู้กู้หลักเท่านั้น คือ พ่อ แม่ ลูก พี่น้อง ลุง ป้า น้า อา หรือเป็นญาติสนิทกันไม่สายใดก็สายหนึ่ง จึงจะสามารถกู้ร่วมได้ เพราะเป็นข้อกำหนดของทางธนาคารและข้อกฎหมายด้วย ที่ต้องเป็นญาติกัน เพราะทั้งสองจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคนละครึ่งนั้นเอง

ค้ำประกันบ้าน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
ค้ำประกันบ้านต้องทำอย่างไรบ้าง?

มิติในเรื่องของการพิจารณาด้านรายได้ของการกู้ร่วม สำหรับกรณีกู้ร่วม ทางธนาคารจะพิจารณารายได้ของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม  เพื่อพิจารณาดูว่าสามารถผ่อนธนาคารได้ไหวหรือไม่ และมีการพิจารณาอย่างละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียในอนาคตด้วยนั้นเอง ส่วนคำถามที่ว่าซื้อบ้านต้องมีคนค้ำไหม ตอบได้เลยว่าไม่ต้องมีก็ได้ เพราะเพียงผู้กู้หลักกับผู้กู้ร่วมมีรายได้ผ่านเกณฑ์ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์นั้นเอง

ส่วนกรณีคนค้ำประกันธนาคารจะพิจารณาคุณสมบัติในด้านรายได้และความมั่นคงของผู้ค้ำประกันในการตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งทางออกของคนค้ำประกันคือต้องมีรายได้สูง และมีทรัพย์สินมาก เพราะจะทำให้ผ่านได้ง่าย และจะเป็นความสะดวกของผู้กู้ แต่ผู้ค้ำต้องคิดให้ดีๆ ว่าจะไม่โดนผู้กู้หนีหายนั้นเอง

มิติเรื่องของกรรมสิทธิ์ ผู้กู้ร่วมจะมีกรรมสิทธิ์ในบ้านเฉกเช่นเดียวกับผู้กู้หลัก ทำให้การกู้ร่วมดีกว่าการค้ำประกันบ้านนั้นเอง เพราะการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะไม่มีกรรมสิทธิ์อะไรเลย และถ้าผู้กู้หนีหายไป ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบหนี้สินที่เหลือด้วย ทำให้ผู้ค้ำประกันมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก

ซึ่งในปัจจุบันก็มีข่าวอยู่มากมายว่าผู้กู้หนีไป แล้วทิ้งหนี้สินให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้รับผิดชอบ และเมื่อหมดหนี้สินแล้ว ผู้กู้ก็จะกลับมา พร้อมกับมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นทันที ซึ่งต้องมีการฟ้องร้องกันอย่างยุ่งยากมากถ้าผู้ค้ำต้องการกรรมสิทธิ์ที่ผู้ค้ำจ่ายต้องมีการฟ้องร้องกัน ดังนั้นก่อนจะค้ำให้ใครต้องคิดให้ดี เพราะผู้ค้ำไม่มีกรรมสิทธิ์เหมือนผู้กู้บ้านร่วมนั้นเอง

2. ค้ำประกันบ้าน VS กู้ร่วมต่างกันอย่างไร Part 2

กู้ร่วมซื้อบ้านมีข้อดีและข้อควรระวังอะไรบ้าง?
กู้ร่วมซื้อบ้านมีข้อดีและข้อควรระวังอะไรบ้าง?

หน้าที่ในการผ่อนบ้าน ผู้ค้ำประกันบ้านจะไม่มีหน้าที่ในการผ่อนบ้าน ถือว่าผู้ค้ำประกันจะมีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีภาระในการผ่อน ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องการผ่อน แต่ผู้ค้ำประกันจะเดือดร้อนก็ต่อเมื่อ ผู้กู้หนีไปที่อื่น ทำให้ไม่มีคนผ่อน เมื่อผู้กู้หนีไป ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบ

เพราะหนี้สินทั้งหมดที่เหลืออยู่ ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีเลย ดังนั้นถ้าใครจะมาขอให้คุณค้ำประกัน คุณควรจะคิดดีๆ และทางที่ดีไม่ควรค้ำประกันให้กับบุคคลที่ฐานะการเงินไม่ดี เพราะพวกนี้ต้องหาคนค้ำ ทำให้สามารถตอบคำถามที่ว่าซื้อบ้านต้องมีคนค้ำไหมได้เป็นอย่างดี เพราะคนที่ฐานะการเงินไม่ดีต้องหาคนค้ำแน่นอน

ส่วนผู้กู้บ้านร่วมจะมีภาระในการผ่อน เหมือนกับผู้กู้หลักเลย เพราะว่าผู้กู้ร่วมก็มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินด้วยนั้นเอง ดังนั้นการที่ผู้กู้ร่วมจะมีภาระในการผ่อนด้วยก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนั้นเอง

ค้ำประกันบ้าน กับกู้บ้านร่วมต่างกันหรือไม่?
ค้ำประกันบ้านกับกู้บ้านร่วมต่างกันหรือไม่?

ซึ่งคำถามที่คนมักจะสงสัยกัน ก็คือซื้อบ้านต้องมีคนค้ำไหม ตอบได้เลยว่าไม่ต้องมีคนค้ำก็ได้ ในกรณีที่คุณสามารถผ่อนบ้านหมดได้คนเดียว และในกรณีที่คุณมีผู้กู้ร่วม คุณก็ไม่จำเป็นต้องมีคนค้ำนั้นเอง

แต่ถ้าคุณกลับกลายเป็นคนค้ำประกัน ทางออกของคนค้ำประกันก็คือต้องคอยดูฐานะการเงินของผู้กู้ให้ดี และทางที่ดีไม่ควรจะไปค้ำประกันให้ใคร เพราะมันเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก

ส่วนมากการค้ำประกันบ้านจะเกิดในกรณีญาติกันเท่านั้น และต้องเป็นญาติที่อยู่บ้านเดียวกันด้วย เพื่อความปลอดภัยในด้านธุรกรรมนั้นเอง

ทำให้ทางออกของคนค้ำประกันก็คือ ถ้าไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่คนที่อยู่บ้านเดียวกัน อย่าไปค้ำประกันจะดีกว่า เพราะเวลาเกิดปัญหาขึ้นมามันเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากผู้ค้ำต้องแบกรับหนี้สินที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์

3. สรุปการค้ำประกันบ้านและการกู้ร่วม

การค้ำประกันบ้านและการกู้ร่วมก็มีความเสี่ยงทั้งคู่ ซึ่งทั้งผู้ค้ำประกัน และผู้กู้ร่วมควรจะคิดและพิจารณาให้ดี เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย และไม่มีปัญหาทางการเงินในอนาคต เพราะถ้าเกิดปัญหาเรื่องเงินขึ้นกับคุณ อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคตได้นั้นเอง

สำหรับท่านใดที่ต้องการซื้อขายบ้าน สามารถติดต่อมาที่บริษัท วินเนอร์เอสเตท จำกัดได้เลย โดยโทรติดต่อได้ทางเบอร์ 087-449-5653 ได้เลย สำหรับท่านใดที่มีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ เรายินดีให้คำตอบกับทุกคำถาม เพื่อให้ทุกท่านได้คำตอบที่เป็นประโยชน์ต่อการซื้อขายบ้านของทุกท่าน

บทความแนะนำ

6 เหตุผลการ ซื้อทาวน์โฮม เหมาะเป็นบ้านหลังแรกของคุณมากที่สุด บทความนี้มีคำตอบ


Share On