1. ขายฝากบ้านดียังไง
ไม่เสียเวลาในการบังคับคดี เพราะการขายฝากบ้าน บ้านที่เราดำเนินการขายฝากจะหลุดทันทีเมื่อครบสัญญา บ้านนั้นจะตกกับเจ้าของคนใหม่ในทันที กล่าวได้ว่า บ้านจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับขายฝากในทันทีที่สัญญาหลุด เช่น ถ้าคุณทำสัญญาขายฝากไว้สองปี แต่คุณไม่สามารถไปไถ่บ้านคืนจากผู้รับขายฝากได้ภายในระยะเวลา 2 ปี บ้านหลังนั้น ก็จะตกกับผู้รับขายฝากทันที ซึ่งคุณสามารถไปขอขยายระยะเวลาได้ เช่น ก่อนจะครบสองปี คุณไปขอขยายระยะเวลาก่อนจะครบกำหนดได้ แต่จะขอขยายสัญญาขายฝากบ้านได้นานสุดไม่เกิน 10 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด แต่คุณก็ต้องส่งดอกเบี้ยทุกเดือนต่อไป ถ้าคุณขยายสัญญาขายฝาก
ผู้รับขายฝากมีความสบายใจ เพราะคุณจะได้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่คุณรับขายฝากไว้อย่างแน่นอน เพราะว่าตั้งแต่วันแรกที่ลูกหนี้ หรือผู้ขายฝาก นำกรรมสิทธิ์มาขายฝาก ลูกหนี้จะต้องนำทรัพย์มาวางไว้กับคุณด้วย และเปลี่ยนเป็นชื่อของคุณรอไว้ด้วย ถ้าลูกหนี้ไม่มาขอไถ่ถอนที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ที่มาวางไว้ในระยะเวลาที่กำหนด กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น ก็จะตกแก่ผู้รับขายฝากทันที ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าการรับขายฝากบ้านจะถูกโกง
ผู้นำที่ดินมาขายฝากสามารถขยายระยะเวลาได้ ไม่ว่าจะขายฝากบ้านกับธนาคารหรือขายฝากบ้านกับคนรู้จัก ก็สามารถดำเนินการขอขยายอายุสัญญาขายฝากได้ แต่ต้องคิดให้ดีก่อนการขอต่ออายุว่า คุณจะมีศักยภาพเพียงพอในการไถ่ถอนกรรมสิทธิ์คืนในอนาคตหรือไม่ เพราะว่าการขอต่ออายุสัญญาขายฝาก ก็คือต้องมีการส่งดอกเบี้ยต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีเงินก้อนที่จะสามารถไถ่ถอนกรรมสิทธิ์คืนมาได้ หากหาเงินก้อนมาไถ่ถอนไม่ได้ จนถึงวันที่ครบอายุสัญญา กรรมสิทธิ์นั้นก็ตกกับผู้รับขายฝากอยู่ดี
การถือไพ่เหนือกว่าของผู้รับขายฝาก การที่ลูกหนี้ต้องนำกรรมสิทธิ์ไปวางไว้กับผู้รับขายฝากบ้านเลย ทำให้ไม่มีทางที่ผู้รับขายฝาก จะเดินมาตามทวงดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือนแบบเงินกู้นอกระบบ คือลูกหนี้ก็จะไม่อายชาวบ้าน เพราะจะไม่มีใครมาตามทวงหนี้แน่นอน เพราะหากลูกหนี้ขาดส่ง หรือตุกติก เมื่อครบอายุของสัญญา กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น ก็จะตกกับผู้รับขายฝากในทันที ถือเป็นความสบายใจของทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายเจ้าหนี้ก็ไม่ต้องกลัวลูกหนี้หนีหนี้ ฝ่ายลูกหนี้ก็ไม่ต้องอายเพื่อนบ้าน หากใครที่สงสัยว่าขายฝากบ้านที่ไหนดี แนะนำที่ Gooroohome แถวพระราม3 ได้เลย เพราะเขาเก็บความลับลูกค้าอย่างดีแน่นอน
2. ขายฝากบ้านกับจำนองต่างกันยังไง
การได้เงินจากที่ดินที่นำไปกู้หนี้ยืมสิน เพราะถ้าเป็นการจำนองบ้าน ลูกหนี้อาจจะมีโอกาสในการได้เงินมาบ้างหลังจากศาลนำที่ดินขายทอดตลาดแล้วมีเงินเกินกว่าจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยและค่าบังคับคดี ก็อาจจะเหลือเงินกลับมาบ้าง เช่น ที่ดินถูกขายทอดตลาดในราคา 2,000,000 บาท แต่ลูกหนี้เป็นหนี้เพียง 500,000 บาท ลูกหนี้จะเสียเพียงเงินต้นและดอกเบี้ยที่คงค้างตั้งแต่เริ่มค้างจนถึงวันที่ขายทอดตลาดได้ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น และศาลจะสั่งให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ไปรับเงินที่ควรได้ตามกฎหมายเมื่อการขายทอดตลาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ความอิสระในการขายที่ดิน การจำนองจะมีความอิสระน้อยกว่าการขายฝาก เพราะการจำนองลูกหนี้อาจโดยทวงเงินได้ เพราะเจ้าหนี้เอาที่ดินไปขายยาก การจำนองบ้าน ผู้รับจำนองจะมีความเสี่ยงที่ไม่มีอิสระในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน เพราะว่าต้องรอจนกว่าคดีจะสิ้นสุด จึงอาจจะเกิดความเครียด จนไปตามทวงเงินจากลูกหนี้ได้ ต่างจากการขายฝากที่สามารถนำที่ดินมาขายได้ทันที เมื่อกรรมสิทธิ์นั้นหลุดสัญญา หรือครบกำหนดสัญญาแล้ว แต่ลูกหนี้ไม่สามารถไถ่คืน
ระยะเวลาในการไถ่ถอน การขายฝากบ้านสามารถขยายระยะเวลาในการไถ่ถอนได้ เพราะมันมีเงื่อนไขในการขยายระยะเวลาได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี ซึ่งถ้าครบ 10 ปี ลูกหนี้ไม่มีเงินก้อนมาไถ่ที่ดินคืน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกกับเจ้าหนี้ตามกฎหมายทันที แต่การจำนอง เจ้าหนี้จะไปฟ้องศาล หรือกรมบังคับคดีทันทีเพื่อให้มีการบังคับจำนองขายทอดตลาด เพื่อจะนำเงินต้นคืน และดอกเบี้ยที่คงค้าง โดยไม่มีการขยายระยะเวลาเป็นต้น
มีอิสระในกรรมสิทธิ์ แน่นอนว่าผู้รับขายฝากมีอิสระในกรรมสิทธิ์มากกว่าการจำนองบ้านอย่างแน่นอน เพราะเมื่อสัญญาหลุด กรรมสิทธิ์นั้นก็จะตกกับผู้รับขายฝากในทันที โดยที่ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อให้ศาลสั่งบังคับคดี นำทรัพย์สินขายทอดตลาด เพราะกว่าจะดำเนินการขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อบังคับคดี กว่าจะนำกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินขายทอดตลาด อาจจะต้องใช้เวลาเป็นสิบปี หรือหลายสิบปี
3. สรุปการขายฝากบ้าน
การขายฝากบ้านย่อมมีความสะดวกกว่า ทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพราะไม่ต้องอายใครเวลาถูกทวงหนี้ และไม่ต้องไปตามทวงหนี้ รวมถึงไม่ต้องไปเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาล ซึ่งหากใครมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจำนอง การขายฝากบ้าน สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาได้ ทางเรายินดีที่จะตอบคำถามทุกคำถาม เพื่อให้ท่านไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบในการรับขายฝาก หรือในการนำที่ดินไปขายฝากหรือจำนอง
บทความแนะนำ
รู้หรือไม่ว่า เครดิตบูโรคืออะไร สำคัญอย่างไร? มีผลต่อการขอสินเชื่อจริงไหม บทความนี้มีคำตอบ