การตรวจรับบ้าน ถือเป็นงานที่สร้างความกังวลใจให้กับ (ว่าที่) เจ้าของบ้านหลายท่าน เพราะไม่รู้ว่า จะต้องตรวจตรงไหนบ้าง ? จะเริ่มต้นจากที่ไหนดี ? แต่ถ้าคุณได้อ่าน เช็กลิสต์ตรวจบ้านด้วยตัวเองฉบับนี้ รับรองว่า จะเห็นภาพรวมชัดขึ้นแน่นอน
1. [Checklist] เดิน ตรวจบ้านด้วยตัวเอง ต้องดูอะไรบ้าง ?
1.1 โครงสร้างบ้าน
- วิธีตรวจรับบ้านก่อนโอนในอุดมคติ คือเข้าไปตรวจสอบตั้งแต่ก่อสร้าง เพื่อให้เห็นโครงสร้างทั้งหมด
- ตรวจสอบความมั่นคง และรอยเชื่อมของเสา, คาน, คอนกรีต, โครงเหล็ก, โครงหลังคา
1.2 หลังคาบ้าน
- มองหาแสงที่เล็ดลอด มาบริเวณใต้หลังคา เพื่อนำไปสู่รูรั่ว หรือจะฉีดน้ำใส่หลังคา เพื่อหารอยรั่วซึมก็ได้ เป็นวิธีเดียวกับที่บริษัทตรวจรับบ้านทำ
- ตรวจสอบความสมบูรณ์รอบชายคา
1.3 ฝ้าเพดาน
- รอยต่อทุกตำแหน่งจะต้องเรียบเสมอกัน ไม่มีรอยแตกร้าว และมองไม่เห็นรอยยาแนว
- ฝ้าเพดานทีบาร์ – แผ่นยิปซัมบอร์ดต้องพอดีกับเส้นทีบาร์
1.4 ผนังบ้าน
- ตรวจบ้านก่อนโอน ต้องดูอะไรบ้าง ? ผนังบ้าน คือส่วนที่จะขาดไม่ได้เลย ปูนที่ฉาบต้องเรียบเสมอกัน ไม่มีรอยแตกร้าว
- ผนังวอลล์เปเปอร์ – ต้องระวังเรื่องรอยฉีกขาด โดยเฉพาะตรงมุม
1.5 พื้นบ้าน
- จะต้องเรียบเสมอกัน ไม่ลาดเอียง ไม่มีรอยแตก
- พื้นกระเบื้อง – เมื่อใช้เหรียญเคาะ ต้องไม่โปร่ง
- พื้นไม้ – ต้องไม่มีเสี้ยน ถ้าลงแลกเกอร์ ก็ต้องเรียบเนียน
1.6 บันไดบ้าน
- ถ้าจะตรวจบ้านด้วยตัวเอง อย่าลืมโยกราวบันได เพื่อเช็กความมั่นคงด้วย
- ลูกนอนต้องเรียบ และไม่มีสีจากราวบันไดไหลเลอะเทอะ
1.7 เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน
1.8 ประตูหน้าต่าง
- บานเลื่อนและบานพับ – ต้องเปิดปิดสะดวก วงกบต้องเรียบร้อย
- กลอนประตูดิจิทัล – การเปิดปิดทุกรูปแบบ ต้องตอบสนองได้ดี
- มือจับ, ลูกบิด, ตัวล็อก – แน่นหนา ใช้งานได้ดี
1.9 ระบบความปลอดภัย
- ตรวจบ้านก่อนโอน ต้องดูอะไรบ้าง ? แน่นอนว่า ระบบรักษาความปลอดภัย อย่างวิดีโอดอร์โฟน และกล้องวงจรปิด ต้องทำงานสมบูรณ์ ถ้าเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนได้ ก็อย่าลืมทดสอบด้วย
- ระบบตรวจจับควัน – ต้องทำงานได้จริง
1.10 ระบบไฟฟ้า
- เบรกเกอร์ – ตัดไฟได้อย่างสมบูรณ์
- สายไฟ – ต้องเดินเรียบร้อย ไม่มีรอยขาด
- สวิตช์ไฟ – เปิดปิดได้ปกติ ไฟติดครบทุกดวง
- ปลั๊กไฟ – ทดสอบด้วยไขควงวัดไฟ หรือเครื่องตรวจไฟเช็กกำลังไฟฟ้าทุกจุด
- ระบบนี้ค่อนข้างซับซ้อน หากไม่มั่นใจ อาจเรียกบริษัทตรวจรับบ้านมาดูแลแทน
1.11 ระบบสั่งการด้วยเสียง
- หากมีระบบสั่งการ สำหรับควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเสียง ก็ให้ลองเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน เพื่อทดสอบระบบด้วย
1.12 สุขภัณฑ์
- การเช็กอ่างล้างหน้า, อ่างอาบน้ำ, ฝักบัว, สายฉีดชำระ, ชักโครก, โถปัสสาวะ ว่าใช้งานได้ดีไหม และมีรอยรั่วซึมหรือไม่ ถือเป็นหนึ่งในลิสต์ วิธีตรวจรับบ้านก่อนโอนที่ต้องมี
- สุขภัณฑ์แบบไร้สัมผัส – ต้องทดสอบระบบเซนเซอร์ด้วย
1.13 ระบบสุขาภิบาล
- การเช็กรอยต่อ, การวางท่อ, ตำแหน่ง ของท่อน้ำดีและท่อน้ำเสีย เป็นสิ่งที่ต้องทำ เมื่อตรวจบ้านด้วยตัวเอง
- รางระบายน้ำฝน – ลองฉีดน้ำให้ท่วมราง แล้วตรวจดูว่า น้ำระบายดีหรือไม่
1.14 งานทาสี
- สีที่ทาต้องทั่วถึงทุกบริเวณ และเรียบเนียน ไม่มีฟองอากาศ ไม่ปูดบวม ไม่มีรอยด่าง
1.15 สภาพโดยรอบ
- พื้นรอบบ้าน – ต้องไม่เอียง วัสดุปูพื้นต้องไม่มีรอยแตก
- พื้นดิน – ถมเต็ม ปรับระดับเรียบร้อย ไม่มีหลุมบ่อ
- รูระบายน้ำ – ดูว่าน้ำไหลสะดวกไหม โดยเฉพาะทำเลต้องห้าม น้ำท่วมบ่อย
- รั้วบ้าน – ทาสีเรียบร้อย เปิดปิดสะดวก ถ้ามีเซนเซอร์ก็ต้องทำงานได้ดี
2. [โฟกัสแยกห้อง] ตรวจบ้านก่อนโอน ต้องดูอะไรบ้าง ?
2.1 ห้องรับแขก
วิธีตรวจรับบ้านก่อนโอน ในส่วนของห้องรับแขก ต้องโฟกัสที่พื้นให้เรียบเสมอกัน เครื่องปรับอากาศไม่มีเสียงดัง และมีปลั๊กไฟอย่างเพียงพอ
2.2 ห้องครัว
เคาน์เตอร์ครัวเรียบร้อย แน่นหนา ตู้เก็บของเปิดปิดได้สะดวก พัดลมดูดควันและระบบตรวจจับควันทำงานปกติ ส่วนอ่างล้างจานและท่อน้ำทิ้ง ต้องไม่มีรอยรั่วซึม
2.3 ห้องน้ำ
ต้องเช็กให้ละเอียด เหมือนกับบริษัทตรวจรับบ้าน เพราะโซนนี้มีจุดเปราะบางหลายแห่ง ทั้งรอยต่อท่อน้ำทั้งหมด, ระบบระบายน้ำ, ระบบตัดไฟ, ความแน่นหนาของสุขภัณฑ์ที่ติดผนัง ถ้ามีกระจกอัจฉริยะ ก็ต้องทดสอบฟังก์ชันด้วย
2.4 ห้องนอน
วงกบประตูหน้าต่างปิดสนิท ตัวล็อกทำงานดี เครื่องปรับอากาศเงียบสนิท ระบบตัดไฟอัตโนมัติทำงานปกติ ฝ้าเพดานปิดแน่นหนา
3. สรุป
มาถึงตรงนี้ คุณคงพอเห็นแล้วว่า การตรวจบ้านด้วยตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก ใคร ๆ ก็สามารถทำเองได้ เพียงแค่เริ่มจากจัดหมวดหมู่ของการตรวจเช็ก แล้วเก็บรายละเอียดตามแปลนของโครงการบ้าน เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
4. อ้างอิงจาก
- วรัชญา มาตรไตร. คู่มือแบบฟอร์มและเอกสารการตรวจรับบ้านก่อนโอน [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาครุศาสตร์โยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี; 2550
- วิญญู วานิชศิริโรจน์. ตรวจรับบ้านก่อนโอนแบบผู้ไม่รู้ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550 เข้าถึงได้จาก: https://www.yotathai.com
บทความแนะนำ
13 ทำเลต้องห้าม ! สำหรับ การลงทุนอสังหา ที่ไม่ควรซื้อไว้ครอบครองเป็นอันขาด ! บทความนี้มีคำตอบ